วันอังคารที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2558

สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ





โครงงาน


การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ


ผู้ทำโครงงาน

เด็กหญิงนภาพร      พรมนัส             ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/2       เลขที่ 34


นางยุพิน        โพธิ์ดอก

อาจารย์ที่ปรึกษา


โครงงานนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาคอมพิวเตอร์  ง.23102

ระจำปีการศึกษาปีที่  1/2558

โรงเรียนมารดาวนารักษ์

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  เขต 3











บทคัดย่อ

ปัจจุบันสภาวะแวดล้อมมีกลิ่นเป็นมลพิษต่อระบบหายใจหากเราซื้อน้ำยาดับกลิ่นตามท้องตลาดมาใช้นั้นจะมีราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตจากสารเคมีทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อมมากขึ้น คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ใบเตย ผิวมะกูด ใบตะไคร้ มาทดลองสกัดคลอโรฟิลล์เพื่อเปรียบเทียบปริมารที่เหมาะสมและชนิดของสมุนไพรที่สามารถกำจัดกลิ่นในสถานที่ต่าง ๆเช่น ห้องน้ำ สถานที่ ที่มีกลิ่นอับ
จากการศึกษาพบว่าสารสกัดจากสมุนไพรในปริมาณที่เหมาะสมสามารถกำจัดกลิ่นได้ดีคือ อัตราส่วนระหว่างสมุนไพร 20 กรัม ต่อ แอลกอฮอล์ 200 ลูกบาศก์เซนติเมตร และสมุนไพรที่กำจัดกลิ่นได้ดีที่สุดคือสารสกัดจากผิวมะกูด














กิตติกรรมประกาศ
              
 โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ    เพื่อทดลองประสิทธิภาพของสมุนไพรในการดับกลิ่นเหม็นอับต่างๆ  โดยได้รับคำปรึกษาจาก  อาจารย์ยุพิน            โพธิ์ดอก ที่ได้ให้คำปรึกษาในการทำโครงงานและการทำรูปเล่มโครงงาน
             คณะผู้จัดทำ  ขอขอบคุณทุกท่านดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นและที่ไม่ได้กล่าวถึงไว้   ณ   ที่นี้เป็นอย่างสูง
       
      คณะผู้จัดทำ














สารบัญ

เรื่อง                                                                                                                   หน้า

บทที่ 1 บทนำ                                                                                                      1

บทที่ 2 เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง                                                               2-4

บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง                                                           5

บทที่ 4 ผลการทดลอง                                                                                        6

บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง                                                                                7

บรรณานุกรม                                                                                                       8











  
บทที่ 1
บทนำ

1.แนวคิดที่มาของโครงงาน
เทคโนโลยีทางการสื่อสาร เทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันเริ่มมีการดำเนินชีวิตของมนุษย์และมีส่วนช่วยสนับสนุนสื่อทางด้านการศึกษาอีกด้วยโดยสื่อสมัยใหม่นิยมเป็นสื่อการเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพราะสะดวกรวดเร็วและเข้าถึงได้ง่าย
                การซื้อน้ำยาดับกลิ่นห้องน้ำตามท้องตลาดมาใช้นั้นมีราคาแพงซึ่งส่วนใหญ่จะผลิตจากสารเคมีทำให้เกิดอันตรายต่อสภาพแวดล้อม คณะผู้จัดทำจึงศึกษาสมุนไพรที่หาง่ายในท้องถิ่นและเป็นสมุนไพรที่มีกลิ่นหอม เช่น ใบเตย ผิวมะกูด ใบตะไคร้ มาทดลองสกัดคลอโรฟิลล์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณที่เหมาะสมและชนิดของสมุนไพรที่สามารถกำจัดกลิ่นในสถานที่ต่าง ๆเช่น ห้องน้ำ ห้องนอน สถานที่ต่างๆ  ที่มีกลิ่นอับ
  2.วัตถุประสงค์
 2.1   เพื่อศึกษา เรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ
 2.2   เพื่อเป็นสื่อทางการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
 2.3   เพื่อเป็นประโยชน์กับบุลคลที่สนใจ
  3.ขอบเขตของการศึกษา
 3.1   เพื่อศึกษาการทำสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ
 3.2   เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสมุนไพรในการดับกลิ่นอับ
 3.3   เพื่อศึกษาโยชน์ของสมุนไพรในท้องถิ่น












บทที่ 2
เอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
               

การพัฒนาสื่อเพื่อการศึกษาผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเสนอเอกสารที่เกี่ยวข้องดังนี้
สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ

1.ต้นตระไคร้
            สรรพคุณ : ทั้งต้น ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
                  หัว เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง แก้ไข้
                  ราก ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
                  ต้น ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย






2.ต้นใบเตย
                 สรรพคุณ :
                ใช้บำรุงหัวใจ เพราะใบเตยมีฤทธิ์ลดอัตราการเต้นของหัวใจ จึงช่วยบำรุงหัวใจได้อย่างดี วิธีรับประทานคือ ใช้ใบสดผสมในอาหาร แล้วรับประทาน หรือนำใบสดมาคั้นน้ำรับประทาน ครั้งละ 2-4 ช้อนแกงช่วยดับกระหาย เนื่องจากใบเตยมีกลิ่นหอมเย็น หากนำมาผสมน้ำรับประทาน จะช่วยดับกระหาย คลายร้อน ทานแล้วรู้สึกชื่นใจ และชุ่มคอได้เป็นอย่างดี วิธีรับประทานคือ นำใบเตยสดมาล้างให้สะอาด นำมาตำหรือปั่นให้ละเอียด แล้วเติมน้ำเล็กน้อย คั้นเอาแต่น้ำดื่มวิธีใช้ตามภูมิปัญญาไทย ใช้ใบเตยสดเป็นยาบำรุงหัวใจ ให้ชุ่มชื่นช่วยลดอาการกระหายน้ำ รากใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวานประโยชน์ทางยา เตยหอมมีรสเย็นหอมหวาน บำรุงหัวใจให้ชุ่มชื้น โดย มากนิยมใช้น้ำใบเตยผสมอาหารคนไข้ทำให้เกิดกำลัง ลำต้นและราก ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ และรักษาโรคเบาหวาน ใบ ช่วยบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ลดกระหายน้ำ และอาจใช้ใบตำพอกรักษาโรคหัด โรคผิวหนัง






3.ต้นมะกูด
              น้ำมะกรูดมีรสเปรี้ยว กลิ่นฉุนคล้ายใบ แต่ใช้น้อยกว่าน้ำมะนาว ใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนมะนาวได้ เช่นในปลาร้าหลน น้ำพริกปลาร้า น้ำพริกมะกรูด มะกรูดมีส่วนเปลือกที่หนา ส่วนเปลือกนิยมนำผิวมาประกอบอาหารบางชนิดด้วย ในมะกรูดมีน้ำมันหอมระเหยอยู่มาก ใบมะกรูดนั้นใส่ในต้มยำทุกชนิด น้ำยาขนมจีน ยำหอย ใส่ในแกงเช่น แกงเผ็ด แกงเทโพ แต่ถ้าใส่มากเกินไปจะมีรสขมมีกลิ่นฉุน ทั้งในใบ และผล บางครั้งสามารถนำไปใช้ไล่แมลงบางชนิดได้ผลมะกรูดผ่าซีกที่บีบน้ำออกแล้ว ใช้เป็นยาดับกลิ่นในห้องสุขาได้
               
               สรรพคุณจากส่วนต่าง :
              ใบ  ปรุงอาหาร  ขับลมในลำไส้ ลดความดันโลหิต  ผล ฟอกเลือด ขับระดู ขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด แก้เสมหะ แก้ลักปิดลักเปิด ช่วยป้องกันรังแค ทำให้ผมดกดำ แก้ไอ แก้ปวดกระเพาะ แก้สะอึก ทำให้เจริญอาหาร
               ราก   แก้ไข้กระหายน้ำ แก้หวัด กัดเสมหะ
               ผิว  ขับลมในลำไส้ แก้ลมวิงเวียน
               ผล หรือน้ำคั้นจากผล  ใช้แต่งกลิ่น สระผมรักษาชันนะตุ รังแค ทำให้ผมสะอาด



















บทที่ 3
วัสดุอุปกรณ์ และวิธีการทดลอง


อุปกรณ์
1.   หม้อ
2.   กรวย
3.   ขวดสเปรย์
4.   ภาชนะตวง

วัสดุและสารเคมี
1.   ตะไคร้ 30 กรัม
2.   ใบมะกรูด 30 กรัม
3.   ใบเตย 30 กรัม
4.    แอลกอฮอร์ 600 มิลลิลิตร (เจือจาง 70%)

วิธีการทดลอง


               1.    นำใบเตย ตะไคร้ ใบมะกรูดมาหั่นเป็นชิ้นเล็กๆ (เพื่อให้สมุนไพรสามารถออกกลิ่นได้เร็วกว่าการที่ต้มโดยไม่หั่น)

 



            2.ต้มแอลกอฮอร์แล้วนำสมุนไพรทั้ง 3 ชนิดลงไปต้ม


              3.   ทิ้งไว้ให้เย็นแล้วกรองกากสมุนไพรออก จากนั้นสามารถบรรจุลงขวดสเปรย์ได้ทันที















  บทที่ 4
ผลการทดลอง
                  
  
จากการทดลองเรื่อง สเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ


                ทำให้คณะผู้จัดทำได้สำรวจประสิทธิภาพของสเปรย์สมุนไพรปรับอากาศ จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพจะเห็นได้ว่า สเปรย์ปรับอากาศกลิ่นตะไคร้สามารถดับกลิ่นได้ตั้งแต่ครั้งแรกที่ฉีดสเปรย์ เพราะขณะสกัดสารคลอโรฟิลล์จากมะกรูด  มะกรูดใช้ระยะเวลาที่สั้นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด แล้วยังมีกลิ่นที่มีประสิทธิภาพในการดับกลิ่นกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิด ส่วนใบเตยนั้นมีประสิทธิภาพน้อยกว่าสมุนไพรทั้ง 2 ชนิดมาก



















บทที่ 5
สรุปผลการทดลอง

สรุปผลการทดลอง
                สรุปได้ว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลูกบาศก์เวนติเมตร กำจัดกลิ่นห้องน้ำได้ดีที่สุด


อภิปรายผลจากการวิเคราะห์
                จากการทดพบว่าสารสกัดสมุนไพรจากผิวมะกรูดในปริมาณ 20 กรัม ต่อ 200 ลุกบาศก์เซนติเมตรกำจัดกลิ่นห้องน้ำได้ดี และสามารถนำไปใช้ในสถานที่มีกลิ่นอับทำให้อากาศสดชื่นกำจัดกลิ่นเหม็นได้ เช่นตู้เสื้อผ้า ห้องนอน ห้องเก็บของ
ภายในรถยนต์ ห้องครัว เป็นต้น


ข้อเสนอแนะ
               - ควรศึกษาข้องมูล หรือข่าวคำแนะนำในการใช้ให้เข้าใจก่อนที่จะใช้ผลิตภัณฑ์
                - ในการสกัดคลอโรฟิลล์ ควรระมัดระวังการใช้แอลกอฮอล์เพราะเป็นสารติดไฟได้ง่าย












บรรณานุกรม










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น